จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

มาฆบูชาลงนะหน้าทอง สืบสานกตัญญูหลวงพ่อจง


          เนื่องในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ตรงกับวันมาฆบูชา อันเป็นวันประเพณีทางศาสนา ประจำชาติไทยเราคือ ศาสนาพุทธ ชาวพุทธนั้นนิยมทำบุญกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันเป็นครอบครัว พากันมาที่วัดใกล้บ้าน หรือวัดที่ตนศรัทธาเลื่อมใส กราบพระคู่บ้านคู่เมืองสิ่งศักดิ์สิทธ ที่ครอบครัวเคารพและยึดเหนี่ยว อีกทั้งได้กราบ ครูบาอาจารย์ที่เคารพและศรัทธา ที่มีการประพฤติและปฎิบัติจริวัตร โดยชอบแห่งสงฆ์ที่งดงาม




          หลวงพ่อจงนั้น เป็นพระอริยะสงฆ์ ที่อยู่ในหัวใจของชาวบ้านชาวเมือง มานาน ทุกวันนี้ยังคงมีประชาชนที่เคารพและศรัทธาท่านมากราบไหว้ระลึกถึง สิ่งดีสิ่งงามที่ท่านได้บ่มเพาะไว้ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ๆ กับวัดหน้าต่างนอกนั้น รุ่นปู่รุ่นตา ได้รู้จักกับคำว่า ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่วอย่างชัดเจน

          จึงไม่แปลกเลยที่ ครอบครัวของผู้ที่ ศรัทธาใน สิ่งที่ท่านย้ำนัก ย้ำหนา มาตลอด นั้นจะเจริญรุ่งเรือง และนำสิ่งที่ท่านย้ำนั้นไปสอนลูกสอนหลาน ต่างพาครอบครัวกับมาเพื่อกราบระลึกถึงครูอาจารย์ เมื่อมีโอกาส ที่เป็นมหามงคล มาถึง


          หลวงพ่อแม้น (หลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระผู้ปฎิบัติภาวนา มีจริยวัตรแห่งสงฆ์ ที่งดงาม ผู้เป็นศิษองค์สุดท้ายที่ยังคงระลึกถึงครูบาอาจารย์ ถึงคำสั่งสอนที่ได้ปฏิบัติตามพระอาจารย์จงมา ท่านยังคงปฎิบัติภาวนาอยู่ตลอดเรื่อยมา ท่านไม่เคยพูดถึงเรื่องอภินิหารใดๆ หรือไม่เคยกล่าวถึงการได้มาซึ่ง ฌาน อภิญญาต่างๆ  ท่านมุ่งมั่นปฏิบัติ ตามคำครูบาอาจารย์ถึงทางพ้นทุกข์

          นอกจากได้ทำบุญในวันมหามงคลแล้ว หลวงพ่อแม้นท่านได้ ทำพอธีลงนะ หน้าทอง ให้กับเหล่าผู้เดินทางมา สักการะ ทำบุญ ทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าต่างก็นับถือในหลวงพ่อจง ระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ เช่นกัน ส่วนใครปฎิบัติได้มากน้อยนั้นไม่เป็นไร ได้แต่ให้กำลังใจกันไว้ หลวงพ่อแม้นท่านได้ทำพิธีลงนะ ครานี้ในวันมหามงคล ซึ่งเป็นมหาอานุภาพมาก

           อานุภาพแห่งการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ได้สั่งสม ย่อมรับรู้ถึงหลวงพ่อจง อานุภาพความกตัญญูแห่ง นะเมตตา ของหลวงพ่อแม้นที่ระลึกถึงพระอาจารย์จงเสมอมา จะต้องเข้มขลังอย่างแน่นอน...ผู้ที่ได้เข้าร่วมพิธีใหญ่ครั้งนี้เเล้วควรรักษา โดยหมั่นรักษาศีล5 และระลึกถึงคุณอาจารย์ไว้ เชื่อว่าจะไม่มีคำว่าเดือดเนื้อเเละร้อนใจ ในชีวิตอย่างแน่นอน ทุกประการ







เนื้หาต่อไปนี้คัดมาจาก หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ กล่าวถึงพิธีนี้ที่วัดหน้าต่างนอก ดังนี้ :


มาฆบูชา....เป็นคำย่อมาจากการบูชาในวัน “มาฆบูรมี” อันเป็นวันเพ็ญกลางเดือน 3 ตามปฏิทินของอินเดียซึ่งตรงกับไทยเช่นกัน แต่หากปีใดที่มีเดือนอธิกมาส (เดือน 8 สองครั้ง) จะเลื่อนเป็นขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4

วันนี้.....คนอินเดียถือเป็น “ศิวราตรี” ซึ่งจักต้องมาพบปะกันเป็นประเพณี แต่ในทางพุทธศาสนาถือเป็นวันสำคัญด้วย พระอรหันต์ “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” 1,250 รูปมาประชุมกันเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมาย ซึ่งถือว่า...มหัศจรรย์

ปฐมแห่งวันมาฆบูชา...อีกนัยในความสำคัญ ด้วย พระพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังตรัสรู้มาเป็นเวลา 9 เดือน


โอวาทปาติโมกข์....เป็นคำสอนสำคัญ หรือหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ “หลักธรรม” ประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6....ซึ่งถือปฏิบัติมาเป็นระยะอันยาวนานถึง 26 ศตวรรษ...

อีกหนึ่งในความสำคัญ จึงถือว่าวันนี้ เป็น ....วันพระธรรม (...ความสำคัญในทางพุทธศาสนาได้กำหนดวิสาขบูชาเป็น “วันพระพุทธ” และอาสาฬหบูชาคือ “วันพระสงฆ์”...)
พระธาตุฯศรีบางไทร ประจุอัฐิหลวงพ่อจง.
พระธาตุฯศรีบางไทร ประจุอัฐิหลวงพ่อจง.

สยามประเทศ...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติกันในปี 2394 ทรง โปรดให้จัดในพระบรมมหาราชวัง ก่อน ซึ่งจะเสด็จฯประกอบพิธีกรรมด้วยพระองค์ทุกปี โดยมีการถวายพระราชกุศลในช่วงเช้าและถวายเพล... ช่วงค่ำทำวัตรจุดเทียนรอบพระอุโบสถ

...ล่วงถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการยกเว้นบ้าง เนื่องจาก บางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็ทรงประกอบพิธี ที่นั่น เลย จากนั้นจึงแพร่หลายออกไปทั่วราชอาณาจักร... ต่อมาในปี 2549 ได้ กำหนด “มาฆบูชา” เป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ” ด้วย....

มาฆบูชาปีนี้ (2557)....ตรงกับ 14 กุมภาพันธ์ พุทธสถานทุกแห่งต่างจัดกิจกุศลกันเพื่อสืบสานวัฒนธรรมและเป็นสิริมงคลแก่ผู้ร่วมกิจ ส่วนจะยิ่งใหญ่ หรือแบบพอเพียงนั้นก็แล้วแต่ความเหมาะสม แต่ก็อยู่ในกรอบของประเพณีอันดีงาม

วัดหน้าต่างนอก.....อำเภอบางไทร อยุธยา เป็นศาสนสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ซึ่งจัดพิธีกรรมในศาสนประเพณีมาอย่างต่อเนื่อง และปีนี้ก็เช่นกัน

จัดหนักด้วยการเสริมพิธี “ลงมือทองคำและนะหน้าทอง” ให้กับผู้ที่เลื่อมใสศรัทธามาร่วมงาน....ด้วย


นางกวักโภคทรัพย์.

นางกวักโภคทรัพย์.
ว่ากันว่า....วัดหน้าต่างนอกเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2300) โดยหลวงปู่เณร (ไม่มี “คำ” เติมท้าย) เป็นผู้สร้าง...โดยมีตำนานเกี่ยวกับความเป็นมาของชื่อถึง 2 ประเด็น

หะแรกว่า.....ช่วงสงครามพม่ายกทัพมาตั้งค่ายที่สีกุก ศรีอยุธยาจึงส่ง ทหารออกไปสอดแนมเป็นการเปิดหน้าต่าง ดูพฤติกรรม หน้าต่างในหมายถึงใกล้ริมแม่น้ำน้อย หน้าต่างนอก คือกลางทุ่ง คือที่วัดในปัจจุบัน

อีกประเด็นคือ... สมัยโบราณพระสงฆ์จะเคร่งในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน จึงมีการกล่าวว่า วัดหน้าต่างนอกเป็นสถานปฏิบัติธรรมอันเป็นอายตนะภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ส่วน หน้าต่างใน เป็นวัดที่ปฏิบัติ อายตนะภายใน หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ...

วัดหน้าต่างนอก.....มีเจ้าอาวาสสืบต่อกันหลายรูป ที่รู้จักกันเป็นอมตะคือ “หลวงพ่อจง พุทฺธ-สโร” ซึ่งเข้มขลังในทางวิชาอาคมและพลังแห่งพุทธคุณ (โด่งดังเมื่อครั้งสงครามเอเชียบูรพา ทำวัตถุมงคลแจกทหารไปรบ ซึ่งได้รับสมญานามว่า “ทหารผีอินโดจีน” เพราะโดนยิงล้มลงไปแล้วยังลุกขึ้นมาต่อสู้ได้)

แม้จะละสังขารแล้วทุกวันนี้ก็ยังเป็นที่เลื่อมใส ในนาม “หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก”
เหรียญพระเหนือสยบราหู.


เหรียญพระเหนือสยบราหู.

...หลังจากนั้นมีเจ้าอาวาสเชื่อมต่ออีกหลายรูป กระทั่งถึง พระครูสมบูรณ์จริยธรรม “แม้น อาจารสัมปันโน” เป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี 2515จนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อแม้น... อายุ 76 ปี 49 พรรษา ช่วงวัยหนุ่มได้ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับหลวงปู่แดงวัดบางเตยนอก หลวงปู่ว่าน วัดบางเตยใน หลวงปู่ เทียน วัดโบสถ์ และเข้าสู่การอุปสมบทเมื่ออายุได้ 27 ปี

....เป็นศิษย์ก้นกุฏิหลวงพ่อจง ซึ่งก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมจนหมดพุงกระทั่งละสังขาร

จากนั้น...จึงได้ไปศึกษาไสยเวทต่อกับเกจิ อาจารย์อีกหลายท่าน เมื่อมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อแม้นได้สร้างวัตถุมงคลหลายรุ่นตามตำราของหลวงพ่อจงผู้เป็นอาจารย์ อย่างเช่น ตะกรุดเสือมหาอำนาจ เสื้อยันต์ เบี้ยแก้ และอื่นๆ...ฯลฯ

อีกศาสตร์ที่ เข้มขลังแห่งอาคม....ซึ่ง หลวงพ่อแม้นได้รับการถ่ายทอดจากหลวงพ่อจงก่อนละสังขาร คือ “ลงนะหน้าทอง” อันเป็นพลัง เสน่ห์มหานิยมชั้นสูง เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา กับ “ลงวิชามือทอง” หรือมือโภคทรัพย์ ซึ่งคนที่ได้รับประสาทพิธีกรรมนี้จะ ทำมาหากินคล่องตัว หยิบจับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองทั้งนั้น

ด้านหน้าวัดหน้าต่างนอก.

ด้วย... “มาฆบูชา” เป็น “วันกตัญญู” ในอีกหนึ่งของความสำคัญ “หลวงพ่อแม้น” จึงเอาศาสตร์ชิ้นสุดท้ายที่ได้จากครูมาสงเคราะห์ศิษยานุศิษย์ให้รับการ ถ่ายทอดพลังความเข้มขลังตามเจตนารมณ์ของอาจารย์....เป็นการ สำแดงในกตัญญู...!!

และ...ในความกตัญญูนี้เช่นกัน ก็ได้ สร้างพระมหาเจดีย์ศรีบางไทรเพื่อบรรจุอัฐิธาตุหลวงพ่อ จง ผู้เป็นอาจารย์ ก็ถือว่าในการนี้อยู่ประกอบมงคลพิธี จึงนำ นางกวักโภคทรัพย์ เหรียญมหาเศรษฐี สีผึ้งจันทรเพ็ญ เหรียญพระเหนือสยบราหู เข้าร่วมในพิธีด้วยเพื่อเสริมพลังความเข้มขลังแห่ง...วัตถุมงคล

จากนั้น....จึงจะ จ่ายแจกศิษยานุศิษย์และผู้เลื่อมใสร่วมเป็นฐาน ในความสำเร็จของ...องค์พระธาตุแห่งความกตัญญู...!!

ที่มา : หนังสือพิทมพ์ ไทยรัฐ คอลัมม์ เหนือฟ้าใต้บาดาล
watnatangnok.com