พระครูสมบูรณ์จริยธรรม หรือที่รู้จักกันในนาม"หลวงพ่อแม้น"ชื่อนี้ประจักษ์ในฐานะพระเกจิอาจารย์แถวหน้าของเมืองไทย หลวงพ่อแม้นเป็นพระที่เคร่งครัดพระธรรมวินัย ด้วยความสมถะตลอด 48 พรรษา ไม่เคยขาดบิณฑบาต ท่านไม่เคยขาดทำวัตรสวดมนต์ ปัจจุบันนี้แม้มีอายุมากแล้วท่านยังออกบิณฑบาตร ทำวัดสวดมนต์เป็นประจำ
ท่านเป็นพระเถระที่มีเมตตาธรรมขั้นสูง เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เข้มขลังในวิทยาคมศักดิ์สิทธิ์ด้านเมตตามหานิยมซึ่งจะดูได้จากงานพุทธาภิเษกต่างๆ ต้องมีชื่อท่านเข้าร่วมแทบทุกงาน ท่านเป็น1ใน4 พระคณาจารย์ที่ได้นั่งปรกเททองหล่อพระพุทธรูปทองคำ เพื่อถวายแด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วัดพระธาตุชุมแฮ จ.แพร่
ท่านเป็นศิษที่ได้รำ่เรียนเวทวิทยาคม จากอาจารย์ทั้งเพศบรรพชิตและฆราวาสมากมาย เช่น
- หลวงปู่แดง วัดบางเตยใน เป็นหลวงตาของหลวงพ่อแม้น เรียนกรรมฐานและคาถาอาคม
- เรียน วิชามงคล 3สาย จากอาจารย์ชิต โคกตูม จ.ลพบุรี
- เรียน วิชา ลงนะ ปิโย และคาถาอาคม จาก หลวงพ่ออ็อด วัดเพิ่มทาน จ.ปทุมธานี
- เรียน กรรมฐานจาก พระครูภาวนารังสี วัดใหญ่ชัยมงคล
- เรียน วิชาหมอถาดจากโยมเอี๋ย
- เรียน วิชาพระเวทวิทยาคมจากหลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอกในปี 2506 มาเรียนที่หลังหลวงพ่อขอม และหลวงพ่อกวย หลังจากหลวงพ่อจงมรณภาพได้ไปเรียนวิชาหลวงพ่อจงเพิ่มเติมจากอาจารย์รวย วัดกลางคลองสาม และมาเรียนกับหลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา เคยปลุกเสกพระร่วมกับหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จนหลวงพ่อแพเรียกว่า "หลวงพ่อจงน้อย"
สำหรับวิทยาคม ที่โดดเด่นก็คือ ท่านทำตะกรุดโทนและเสือหล่อสำหรับพกติดตัวมีประสบการณ์สูงมาก นับดูสำหรับตะกรุดโทน ท่านทำมา 8 รุ่นเเล้ว เสือหล่อท่านได้สร้างไว้ 3 รุ่นเเล้ว แต่ละรุ่นล้วนมีผู้มาเล่าประสบการณ์ให้ฟังที่วัดอยู๋บ่อยมาก โดยเฉพาะเสือหล่อรุ่นที่3 เรียกกันว่า เสือใหญ่หรือเสือปืนแตก เพราะมีคนนำไปลองยิงปรากฏว่าปากกระบอกปืนถึงกับแตกทีเดียว เสือรุ่นแรกนั้นเช่าหากันราคาสูงมากขึ้นทุกทีอีกทั้ง ยังหายาก เพราะผู้ที่ได้ไปก็หวงแหนเพราะว่าเป็นเสือรุ่นแรกเสือรุ่นแรกนี้ร่ำลือกันว่าทำพิธีปลุกเสก มีเสียงคล้ายเสือคำรามดังไปทั้งวัดเลยทีเดียว
- พรรณอิทธิคุณ "ตะกรุดโทนจันทร์เพ็ญ" และ "เสือจันทร์เพ็ญ"
พุทธคุณ ของตะกรุดโทนจันทร์เพ็ญ และเสือจันทร์เพ็ญ โบราณาจารย์ท่านได้รจนาไว้ว่ามีพุทธคุณโดดเด่นเป็นเมตตามหานิยมแค้ลวคลาดคงกระพันดียิ่งนัก และหลวงพ่อแม้นได้ใส่พระยันต์คงดวงลงไปด้วย พระยันต์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักครูท่านได้ว่าไว้ดังนี้ ผู้ใดมีพระยันต์นี้ติดตัวจะไม่ตายด้วยอาการวิปริต (ตายโหง) ดวงชะตาจะตก ถึงจะย่ำแย่แค่ไหนก็จะเสมอตัว ไม่ต่ำกว่าคนอื่น ผู้ใดมีตะกรุดนี้อยู่กับตัว ให้ระลึกถึงพระรัตนตรัย 3ประการ หลวงพ่อจง หลวงพ่อแม้นเป็นที่สุด แล้วอธิฐานเอาเถิดประเสริฐนักแล
หลวงพ่อแม้น ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง และเป็นพระนักพัฒนา ตั้งแต่ท่านมารับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกเมื่อ พ.ศ. 2515 ท่านก็พัฒนาก่อสร้างและบูรณะถาวรวัตถุของวัดมาโดยตลอด ปีนี้หลวงพ่อแม้นจะดำเนินการจัดสร้างลานบุญปฏิบัติธรรม ณ ลานบุญแห่งนี้ซึ่งจะใช้งบประมาณ 10ล้านบาทท่านจึงสร้างวัตถุมงคลขึ้นอีกรุ่น เพื่อสมทบทุนก่อสร้างถาวรวัตถุให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งท่านได้เททองฉนวนมวลสาร หล่อเสือขึ้นมา 5,555 ตัวเมื่อวันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.25555 จากนั้นท่านก็ได้จารตะกรุดโทนไว้ 888 ดอก (เนื่องจากหลวงพ่อได้จารมือด้วยตัวเองจึงทำได้น้อย) เพื่อประกอบพิธีอธิฐานจิตตลอดไตรมาสนี้
จึงขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมสร้างบุญปฏิบัติธรรมและพระมหาเจดีย์ร่วมกับหลวงพ่อแม้นโดยสั่งจองวัตถุมงคล รุ่น "จันทร์เพ็ญ 55" เพื่อร่วมกันสร้างกุศลใหญ่ในครั้งนี้
วัตถุมงคลรุ่นนี้ทั้งหมดหลวงพ่อแม้นท่านอธิฐานจิตปลุกเสกในไตรมาสเรื่อยไปจนถึงวันเพ็ญเดือน12 (วันลอยกระทง) โดยตะกรุดโทนนี้จะยังไม่ม้วนจะทำการม้วนในวันเพ็ญเดือน 12 เลยทีเดียว (จึงยังไม่สามารถลงรูปได้) โดยในวันนั้นจะทำการจารยันต์ครูและเจิมแผ่นตะกรุดด้วยผงจันทร์เพ็ญก่อนจึงค่อยม้วน ด้วยมนต์หิรัญยักษ์ม้วนแผ่นดินและประสาทมนต์ ด้วยมนต์มงกุฎพระพุทธเจ้าเป็นสำทับตามตำรับท่าน จะทำพิธีในอุโบสถจากเที่ยงวันถึงเที่ยงคืนมีพระสงค์ 9รูป เจริญพระพุทธมนต์ตลอดเวลา เพื่อให้เป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิริมงคล แก่ผู้ได้ครอบครองวัตถุมงคลรุ่นนี้ หลังจากเสร็จพิธีม้วนตะกรุดตอนเที่ยงคืนแล้ว จะทำพิธีอาบน้ำเพ็ญหรืออาบน้ำมนต์จันทร์เพ็ญให้กับผู้ร่วมพิธีนี้ด้วย
ในปัจจุบันจะหาผู้ที่ทำตะกรุดด้วยพิธีกรรมพิถีพิถัน ลักษณะนี้ไม่อาจพบเห็นแล้ว วัตถุมงคลรุ่นนี้จึงเป็นวัตถุมงคลรุ่นที่สมควรจะรีบสั่งจอง เพื่อบูชาไว้เป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านเองอละครอบครัวอย่างยิ่ง
(อนุโมทนาบุญครับ...สาธุ)
นิตยสาร เชื่อหรือไม่ พฤษภาคม 2556
นิตยสาร เชื่อหรือไม่ มิถุนายน 2556
นิตยสาร เชื่อหรือไม่ เมษายน 2556
watnatangnok.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ แต่หากนำไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าทางใดๆ ขอให้ท่านผู้มีบุญ อ้างอิงถึงเราซึ่งเป็นแหล่งนำข้อมูลที่มีอยู่มาแบ่งปัน อนุโมทนา